การปิดขา CPU Slot-1

[ 06 Feb. 1999 ]

CPU Type

Vcore

FSB

Pentium II 233 - 300 MHz ( Klamath )

2.80 V.

66 MHz

Celeron 266 - 300 ( Deschutes )

2.00 V.

66 MHz

Celeron 300A - 366 MHz ( Mendocino )

2.00 V.

66 MHz

Pentium II 300 - 333MHz ( Deschutes )

2.00 V.

66 MHz

Pentium II 350 - 450 MHz ( Deschutes )

2.00 V.

100 MHz



จากรูป ก็เอาคร่าวละกันนะครับ ว่าถ้า ค่าความต้านทานภายใน CPU ที่ต่อออกมาทางขา pin B21 นั้น เป็น 0 นั้น ตรง Clock Generator ก็จะมีศักดิ์ไฟฟ้า เป็น "Low" เพราะ pin B21 ซึ่งอยู่ภายใน CPU นั้น ต่ออยู่กับ Ground แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้า ค่าความต้านทานดังกล่าว มีค่าสูง หรือ เป็น High Impedance ก็จะทำให้ Clock Generator มีศักดิ์ไฟฟ้าเป็น "High"

จากข้อมูลดังกล่าว ก็ทำให้สรุปได้ว่า ถ้าต้องการใช้ FSB เป็น 100 MHz ก็ต้องทำให้ขา CPU pin B21 นั้น เป็นมีค่า ความต้านทานสูงๆ หรือ เป็น High Impedance ซึ่งแน่นอน กระทำได้ โดยการ ทำให้ pin B21 นั้น เกิดOpen Circuit กับ Mainboard

แน่นอน วิธีที่จะทำให้ pin B21 นั้น เกิด Open Circuit กับ Mainboard นั้น ก็คือ ทำให้มันไม่ติดกัน ก็โดยหาอะไรมากั้นระหว่าง pin B21 นี้ กับ ช่อง slot ของ Mainboard ซะ ก็สิ้นเรื่อง ;-)

ในทำนองเดียวกัน การ detect Vcore ของ Mainboard จาก CPU นั้น ก็ใช้วิธีเดียวกัน ก็คือ ใช้การ detect ผ่าน pin ของ CPU เช่นกัน แต่ไม่ได้ detect ที่ pin B21 ... หากแต่เป็น pin A119, A 120, A121, B119 และ B120 แทน โดยที่ว่า

A119

A120

A121

B119

B120

Vcore

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

CPU not detect

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

1.80 V.

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

1.85 V.

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

1.90 V.

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

1.95 V.

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

2.00 V. (default)

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

Short Circuit

2.05 V.

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

2.10 V.

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

2.20 V.

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

2.30 V.

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

2.40 V.

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

2.50 V.

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

2.60 V.

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

2.70 V.

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

2.80 V.

Open Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

2.90 V.

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

3.00 V.

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

3.10 V.

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

3.20 V.

Short Circuit

Open Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

3.30 V.

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Open Circuit

3.40 V.

Short Circuit

Short Circuit

Open Circuit

Short Circuit

Short Circuit

3.50 V.


เอาละ พอจะมองเห็นทางกันแล้วใช่ไหมครับ เรามาเริ่มกันเลยดีไหม?

เอาละ พร้อมแล้ว ... ลุย


เอาละครับ ลองดูที่ตารางข้างบนนะครับ สังเกตุว่า ที่ Vcore = 2.00 V. นั้น pin B120 จะเป็น Open Circuit อยู่แล้ว แน่นอนครับ เราทำการแก้ไขอะไรมันไม่ได้ เพราะมันเป็น โดย default อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเอาเทปไปปิด หรือ ปิดทิ้ง อย่างไร ก็ตามมันก็จะเป็น Open Circuit อยู่ดี เพราะฉะนั้น เราสามารถปรับแต่ง Vcore ได้แต่เฉพาะ 1.80, 1.90, 2.20, 2.40, 2.60, 2.80, 3.00, 3.20 และ 3.40 V. เพราะเป็นค่า Vcore ที่ดูจากตารางแล้วใช้ pin B120 เป็น Open Circuit อืมม ตารางข้างบนอาจดูยากไปสักนิด งั้นลองดู ตารางนี้แทนก็แล้วกันนะครับ ผมจะสรุปเฉพาะ ที่ทำได้ให้ก็แล้วกันนะครับ

A119

A120

A121

B119

B120

Vcore

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

1.80 V.

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

1.90 V.

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

2.00 V. (default)

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปิดเทป

ปล่อยไว้

2.20 V.

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปิดเทป

ปิดเทป

ปล่อยไว้

2.40 V.

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปิดเทป

ปล่อยไว้

2.60 V.

ปิดเทป

ปิดเทป

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

2.80 V.

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

3.00 V.

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

3.20 V.

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

ปิดเทป

ปล่อยไว้

ปล่อยไว้

3.40 V.


หมายเหตุ - สังเกตุว่า pin B120 จะปล่อยไว้ ตลอด เพราะ มันมีค่าเป็น Open Circuit โดย default อยู่แล้ว ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงมันได้

ไม่แนะนำให้ใช้ Vcore เกิน 2.60 Volt นะครับ ( ถึงแม้จะใช้ได้ แต่มันก็ไม่เป็นผลดีกับ CPU แน่ๆ ) โดยค่า Vcore ที่แนะนำ คือ 2.20 Volt หรือ 2.40 Volt ครับ

เอาละ ที่นี้ก็มาถึงการทำ ขั้นแรกเลย ก็ตัดเทปให้ได้ขนาด ต้องบรรจงพอสมควร ใช้สติ และ สมาธิ มากพอควรครับ พอตัดเทปได้ขนาดแล้ว ก็เอามาปิดตาม pin ต่างๆ ซึ่ง ก็แล้วแต่ ว่าจะ ทำอะไรบ้าง เช่น ต้องการ ให้ CPU ใช้งานที่ FSB 100 MHz และ ต้องการใช้ไฟเลี้ยง ที่ 2.20 V. ก็ทำได้ โดยการติดเทป ที่ pin B21 ( ใช้ FSB 100 MHz ) และ ที่ A119, A121, B119 ( เพื่อใช้ไฟ 2.20 V. ) ครับ ... ก็ง่ายๆ ครับ ไม่น่ามีปัญหา จะมีบ้าง ก็ตอน นั่งนับขา ของ CPU เนี่ยหล่ะครับ ปวดตาชะมัด แล้ว ก็ตอนตัดเทป เนี่ยหล่ะ เทปพอตัดแล้ว ชิ้นมันเล็ก ติดโน่น ติดนี่ ไปหมด ก็ต้องระวังหน่อยนะครับ พอติดแล้ว ก็ติดให้แน่นๆ ด้วยนะครับ ไม่งั้นพอเสียบเข้า Slot แล้ว มันอาจหลุดได้

ผลที่ได้รับ

แน่นอนครับ ผลที่ได้รับ นั่นก็คือ สามารถทำให้ CPU นั้นๆ ( ซึ่งแต่เดิม อาจใช้แค่ FSB 66 MHz ) ปรับมาใช้ FSB 100 MHz แทนได้ แล้วก็ ช่วยเพิ่ม เปอร์เซ็นต์ ความสำเร็จในการ OverClock และ เสถียรภาพ ให้มีมากขึ้น ครับ ( เพราะ จ่ายไฟเลี้ยงแก่ CPU มากขึ้นกว่าเดิม ) แต่ก็แลกมาด้วยความร้อนที่จะเพิ่มขึ้นมากด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เรื่องการ OverClock โดยวิธีนั้น ค่อนข้างวุ่นวาย เพราะฉะนั้น หากท่านไม่แน่ใจ ไม่กล้าเสี่ยง ควรเลี่ยงๆ จะดีกว่าครับ ... ด้วยความปรารถนาดี
เอกสารอ้างอิง http://www.com-th.net/